เมนู

ฝึกอัตภาพของตนอย่างเดียว ด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า สเมนฺติ ความว่า
ย่อมสงบจิตของตนด้วยความสงบกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพาเปนฺติ ความว่า
ย่อมดับด้วยการดับกิเลส. ในบทว่า อุทฺธคฺคิกํ เป็นต้น ทักษิณาชื่อว่า
อุทธัคคิกา เพราะมีผลในเบื้องบนด้วยสามารถให้ผลในภูมิสูง ๆ ขึ้นรูป.
ทักษิณาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสวัคคิกา
เพราะให้เกิดอุปบัติในสวรรค์นั้น ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะมีสุขเป็นวิบากในที่เกิด
แล้ว. ชื่อว่า สัคคสังวัตตนิกา เพราะทำอารมณ์อันดีคือของวิเศษ 10
มีวรรณทิพย์เป็นต้นให้เกิด อธิบายว่า ย่อมตั้งทักษิณาเช่นนั้นไว้.
บทว่า อริยธมฺเม ฐิโต คือตั้งอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรม. บทว่า
เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ความว่า นรชนนั้น ไปปรโลกถือปฏิสนธิแล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์. คฤหัสถ์ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันและสกทาคามี หรือ
อนาคามีก็ตาม ปฏิปทานี้ย่อมได้เหมือนกันทุกคนแล.
จบอรรถกถาปัตตกัมมสูตรที่ 1

2. อันนนาถสูตร


ว่าด้วยสุข 4 ประการ


[62] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข 4 ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ควรได้รับตามกาลสมัย สุข 4 ประการคืออะไรบ้าง คือ
อตฺถิสุขํ สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์
โภคสุขํ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

อนณสุขํ สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
อนวชฺชสุขํ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
ในโลกนี้ ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนที่ต้องทำงาน
จนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม มีอยู่ กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า
โภคทรัพย์ทั้งหลายของเราที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม
มีอยู่ ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์.
ก็สุขเกิดแต่จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นไฉน ? กุลบุตรในโลกนี้บริโภค
ใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความ
หมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า เราได้บริโภค
ใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ได้ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความ
หมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกกว่า
สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค.
ก็สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้เป็นไฉน ? กุลบุตรในโลกนี้ไม่กู้ยืม
ทรัพย์อะไร ๆ ของใคร ๆ น้อยหรือมากก็ตาม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า
เราไม่ได้กู้ยืมทรัพย์อะไร ของใคร ๆ น้อยหรือมากก็ตาม ดังนี้ ย่อมได้สุข
โสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้.
ก็สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษเป็นไฉน ? อริยสาวกใน
ศาสนานี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม (การงานทางกาย) ที่ไม่มีโทษ ประกอบ
ด้วยวจีกรรม (การงานทางวาจา) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม
(การงานทางใจ) ที่ไม่มีโทษ อริยสาวกนั้นคำนึงเห็นว่า เราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยกายกรรม...วจีกรรม...มโนกรรมอันหาโทษมิได้ ดังนี้ ย่อมได้สุข
โสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

ดูก่อนคฤหบดี สุข 4 ประการนี้แล อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรจะ
ได้รับตามกาลตามสมัย
บุคคลผู้มีปัญญาดีรู้ว่าความไม่เป็น
หนี้เป็นสุข และระลึกรู้ว่าความมีทรัพย์ก็
เป็นสุข เมื่อได้จ่ายทรัพย์บริโภคก็รู้ว่าการ
จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นสุข อนึ่ง ย่อมพิ-
จารณาเห็น (สุขที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน) ด้วย
ปัญญา เมื่อพิจารณาดู ก็ทราบว่าสุข 4
นี้เป็น 2 ภาค สุขทั้ง 3 ประการข้างต้น
นั้นไม่ถึงส่วนที่ 16 แห่งสุขเกิดแต่
ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

จบอันนนาถสูตรที่ 2

อรรถกถาอันนนาถสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอันนนาถสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อธิคมนียานิ คือ พึงถึง. บทว่า กามโภคินา คือ
ผู้บริโภควัตถุกาม และกิเลสกาม. บรรดาสุขมีอัตถิสุขเป็นต้น สุขที่เกิดขึ้นว่า
โภคทรัพย์มีอยู่ ชื่อว่าอัตถิสุข สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์. สุขที่เกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ชื่อว่าโภคสุข สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค. สุขที่เกิดขึ้น
ว่าเราไม่เป็นหนี้ ชื่อว่าอันณสุข สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้. สุขที่เกิดขึ้น
ว่าเราปราศจากโทษ ไม่เป็นโทษ ชื่อว่าอนวัชชสุข สุขเกิดแต่การประกอบการ
งานที่ไม่มีโทษ.